รู้จักกับสาเหตุโรคไต โรคที่คนไทยเป็นกันหลักล้าน!
Room : Others
totheworld | ผิวธรรมดา | 25-29 Yrs | 0 รีวิว 02/08/2022 10:00     



โรคไตเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยถึงหลักล้านคน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี เนื่องจากโรคนี้อาจใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด หากสังเกตและรู้เท่าทันสาเหตุโรคไตได้ ก็เปรียบเสมือนว่าคุณมีภูมิคุ้มกันเบื้องต้นที่จะไม่ทำให้ตัวเองเสี่ยงเป็นโรค หรือถ้าหากคุณหรือคนใกล้ตัวเกิดป่วยเป็นโรคนี้ขึ้นมา ก็จะได้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นถึงลักษณะทั่วไปของโรค และรู้ว่าควรจัดการและดูแลรักษาโรคไตวายเรื้อรังนี้อย่างไร


ไตวายเรื้อรังคืออะไร?

โรคไตวายชนิดเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตถูกทำลายเนื้อเยื่อลงอย่างช้า ๆ ต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแรมเดือนหรือเป็นปี ๆ เนื้อเยื่อไตที่ถูกทำลายไปเสียหายถาวร ทำให้ไตมีขนาดเล็กลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้ไตฟื้นกลับมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้ปกติเหมือนดังเก่า ยิ่งอาการของโรคไตวายเรื้อรังรุนแรงขึ้นมากเท่าไหร่ อาการจะยิ่งหนักจนถึงขั้นไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้จนต้องใช้การรักษาอย่างฟอกไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไตเข้ามาช่วย


สาเหตุโรคไต

โรคไตวายเรื้อรังพบสาเหตุของการเกิดโรคหลากหลายสาเหตุด้วย ได้แก่ มีโรคประจำตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์ โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ, มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบมาก่อน, สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคไต, เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ มีการอุดกั้นหรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง, ได้รับยากลุ่ม NSAIDs มาเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้หากเป็นผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะอ้วน และผู้มีความเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้เช่นกัน


การดูแลรักษาโรคไต

1. หากเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยสามารถรักษาโรคไตได้ตามอาการ เช่น รับประทานยา ควบคุมความดัน และลดพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อไตและร่างกาย เช่น กินอาหารรสจัด ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ และการทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด

2. หากเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะรุนแรงต้องได้รับการรักษาแบบบำบัดทดแทนไต เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ปกติดังเดิม จึงต้องใช้การรักษาช่วยขจัดของเสียแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือด การฟอกไต และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต



สรุป

หากคุณมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุโรคไตเอาไว้ จะช่วยให้คุณมีความรู้ในการใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่รักมาก ไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคร้ายนี้ หรือหากพบว่ามีความเสี่ยง ก็สามารถสังเกตตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดความอันตรายจากโรคนี้ลงเท่าที่ทำได้




Comment (0)
Post Comment



- view all -

THE HIGHLIGHTER

- view all -